ต่อจากครั้งที่แล้ว ครั้งที่แล้วจะเป็นการติดตั้ง Node.js การใช้งาน module การ Export File และการตรวจสอบการเข้ารหัสข้อมูล ครั้งนี้เราจะมาสรุปเกี่ยวกับโมดูลที่มาพร้อมกับ Node.js
Node.js นี่เขาใจดีได้เตรียม Module ไว้ให้เราด้วย เรามาดูว่ามีอะไรบ้าง มาเริ่มต้นที่ Module ตัวแรกกันเลย
Module ที่มาพร้อมกับ Node.js
Module path
Module path คือ โมดูลที่เอาไว้แสดงชื่อไฟล์ และการหาพาธของไฟล์ การโหลด Module path มาใช้จะทำแบบนี้
const path = require('path');
ตัวอย่างคือ เราสร้างไฟล์ขึ้นชื่อ module-path.js เพื่อทดสอบโมดูล path ด้วยการให้แสดงตำแหน่งไฟล์ปัจจุบันอยู่ในพาธไหน
Module OS
Module OS คือ OS : Operating System เป็นโมดูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ ว่าเป็นระบบปฏิบัติการอะไร โดยใช้โมดูลนี้ การโหลด Module os มาใช้จะทำแบบนี้
const os = require('os');
ตัวอย่างคือ เราสร้างไฟล์ขึ้นชื่อ module-os.js เพื่อทดสอบโมดูล os ด้วยการให้แสดงพื้นที่ว่าง และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้
Module FS
Module FS คือ FS : File System ใช้เพื่อจัดการไฟล์ เพิ่ม ลบ การโหลด Module fs มาใช้จะทำแบบนี้
const fs = require('fs');
ตัวอย่างคือ เราสร้างไฟล์ขึ้นชื่อ module-fs.js เพื่อทดสอบโมดูล fs ให้แสดงไฟล์ทั้งหมดออกมาให้ ที่มีอยู่ในโฟลเดอร์ปัจจุบัน
Module Events
Module Event คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งาน เช่น เมื่อคลิกเมาส์ การโหลด Module events มาใช้จะทำแบบนี้
const events = require('events');
ตัวอย่างคือ เราจะสร้างไฟล์ชื่อ module-event.js เพื่อทดสอบโมดูล events
การผ่านค่าพารามิเตอร์เข้าไปใน Events
เราจะใช้ Method emit() เพื่อปล่อย Event พารามิเตอร์ตัวแรกชื่อ myEvent และ ผ่านค่าพารามิเตอร์ args แบบ Object มาแสดง
อีกวิธีหนึ่ง ถ้าไม่ต้องการผ่านค่าพารามิเตอร์ แบบObject มาแสดง สามาทำได้ดังนี้ และถ้าต้องการสองค่า แค่เพิ่มพารามิเตอร์เข้าไปอีก ตรงฟังก์ชัน และ ที่ให้แสดง เวลาผ่านค่าพารามิเตอร์ ก็เขียนผ่านค่าได้สอง พารามิเตอร์
Module HTTP
Module HTTP คือ ทำหน้าที่เป็น Server หรือ Client ตามแต่ที่เราจะกำหนด การโหลด Module HTTP มาใช้จะทำแบบนี้
const http = require('http');
ตัวอย่างคือ เราจะสร้างไฟล์ชื่อว่า module-http.js มาแล้วโหลดโมดูล http มาใช้งาน และเมื่อเรารันดู จะเห็นว่าเขารันที่พอร์ต 3000
และไปที่ Browser แล้วกรอก locallhost:3000; ที่ Browser ก็จะยังไม่เห็นอะไร
เสร็จกลับไปดูที่โปรแกรมของเราจะบอกว่า Client Connected ในระหว่างที่เราโหลดหน้านี้
การหยุดการรันสามารถทำได้ดังนี้คือ control+ C
การใช้ HTTP Module จัดการกับ http request , http response
เราต้องการจะผ่านค่าเข้าไป เราต้องการจะสร้าง Object Server พร้อมกับกำหนด request Listener เพื่อคอยตรวจเหตุการณ์การร้องขอข้อมูลมายัง Server
เราจะกลับไปที่ไฟล์ที่เราสร้างชื่อ module-http.js และแก้ไขประมาณนี้ ใช้ http request [req] และ http response [res] ตรวจสอบหา Server ที่กำหนด
กลับไปที่ Browser แล้วกรอก localhost:3000 จะพบกำหนดข้อความที่เรากำหนดไว้
ที่ฝั่งของ Server เราบ้าง ก็ยัง Client connected ได้ดี
เราจะสร้างที่มี 2 เงื่อนไข ให้เลือกไปยัง url นั้นๆ คือก็มี url ให้เลือกอ่ะแหล่ะ ขึ้นอยู่กับว่าอยากให้หน้าไหน ขึ้นมาแสดง และจะเอา Object มาแสดง JSON แบบสตริง บันทึกและรัน
ไปดูที่ Browser ที เป็นอย่างไรบ้างแล้ว
ที่ Server ของเราก็ยังอยู่ดี Client connected
NOTE
Method parse() คือ ตรวจสอบว่าไฟล์ปัจจุบันอยู่ในพาธชื่ออะไร
Method freemem()คือ เพื่อหาหน่วยความจำที่ว่างอยู่
Method userInfo() คือ เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งาน
Method totalmem() คือ เพื่อหาหน่วยความจำทั้งหมด
Method readdir() คือ ต้องการผ่านค่าพารามิเตอร์อย่างน้อย 2 ค่า
Method addListener() คือการเพิ่มเหตุการณ์เข้าไปใน Object เป็นการเตรียมเหตุการณ์
Method emit() คือ เพื่อปล่อยเหตุการณ์ตามชื่อที่กำหนด
Method on() คือ เพื่อกำหนด Event แทน Method addListener() ได้
Method createServer() คือ เพื่อกำหนดให้เป็น Server
Method createClient() คือ เพื่อกำหนดให้เป็น Client
Method listen() คือเพื่อสร้าง Event Listener รอการเชื่อมต่อกับพอร์ต Parameter __filename คือ พาธของไฟล์ปัจจุบัน
Parameter path คือ พาธของโฟลเดอร์ที่สนใจ
Parameter callback คือ ฟังก์ชันจะถูกเรียกใช้งานหลังจากเข้าไปยังพาธที่กำหนด
สำหรับครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Module แต่ละอย่าง เขาก็จะมีหน้าที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้ Module นั้นทำอะไร อะเคร เอาไว้เท่านี้ บ๊ายยยย